ดอก “ฮิกังบะนะ” มีชื่อเรียกหลายอย่างบางคนก็เรียกดอกมันจุชะเกะ พลับพลึงแดง หรือ red spider lily ซึ่งชื่อที่ใช้ร่วมกันอย่างมากน่าจะเป็น “ฮิกังบะนะ”
ดอกไม้นี้จะเริ่มผลิบานช่วงปลายเดือนกันยายน เป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าใกล้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงแล้ว
ปีนี้เราไปชมดอกฮิกังบะนะกันที่จังหวัดไซตะมะ ซึ่งเดินทางไม่ยากและใช้เวลาไม่นานจากโตเกียว เราจะไปกันที่คินจะคุดะ (Kinchakuda)
บริเวณนี้พื้นที่เป็นวงกลมซึ่งลักษณะคล้ายกับถุงใส่ของของคนญี่ปุ่นที่เรียกว่า Kinchaku บริเวณนี้จึงถูกเรียกว่า “คินจะคุดะ”
ฮิกังบะนะมีตำนานเรื่องเล่ามากมาย ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เป็นเรื่องที่สุดท้ายพูดตรงกันว่า ดอกไม้นี้ไม่เป็นมงคลสักเท่าไหร่นัก ดังนั้นคนญี่ปุ่นจะไม่นำดอกไม้ชนิดนี้มาจัดแจกันหรือช่อดอกไม้
จากข้อมูลของ Osaka Convention & Tourism Bureau ได้พูดถึงดอกไม้ชนิดนี้ไว้ว่า
“Higanbana หรือ Spider Lily คือดอกไม้ที่ว่า ทั้งๆที่หน้าตาสีสรรมันออกสวยงามดังที่เห็นในภาพ ว่ากันว่าในอดีต ผู้คนมักนำหัวของมันไปปลูกไว้ตามคันนาหรือใกล้สุสาน ทั้งนี้เพราะในหัวของมันมีพิษสามารถป้องกันหนูหรือสัตว์ร้ายไม่ให้เข้าไปกัดกินข้าวในนาหรือศพที่ถูกฝังไว้ และนั่นคือที่มาของชื่อนานาประการเช่น “ดอกไม้ผี” (Yurei-bana) “ดอกไม้คนตาย” (Shibito-bana) อันไม่เป็นมงคล ไปจนถึงชื่อตามพุทธศาสนาเช่น “ปรมิตตา” (Manjushage) และ “ฮิงังบะนะ” (Higanbana) ซึ่งชื่อหลังสุดนี่เป็นชื่อที่ผู้คนทั่วไปใช้ร่วมกันในปัจจุบัน
“ฮิงัง” (Higan) หมายถึงประเพณีบังสุกุลบรรพบุรุษของคนญี่ปุ่นกระทำกัน 2 ครั้งในหนึ่งปี ครั้งที่สองคือราวกลางถึงปลายเดือนกันยายน แทบทุกปีมักจะตรงกับช่วงที่ดอกฮิงังบะนะโผล่ยอดออกมาบนดิน พร้อมคลี่กลีบบานอย่างรวดเร็วก่อนที่จะโรยไปพร้อมๆกับการสิ้นสุดของเทศกาลบังสุกุลพอดิบพอดี”
เทศกาลของดอกฮิกังบะนะที่คินจะคุดะ จัดขึ้นทุกปีจะอยู่ช่วงต้นกันยายนถึงกลางตุลาคค่าเข้าชมคนละ 300เยน ตั้งแต่ 09:00-16:30
เราใช้เวลาเดินทางจากสถานี Ikebukuro มาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็มาถึงสถานี Koma แล้วเดินต่อไปยังคินจะคุดะ ประมาณ 15นาที ซึ่งระหว่างทางมีร้านค้าเล็กๆ สินค้า OTOP ให้ดูไปตลอดทางจึงไม่จำเป็นต้องขึ้นรถบัสเลย ผ่านต้นเกาลัดที่เพิ่งเคยเห็นครั้งแรกในชีวิต ทุ่งนาและหุ่นไล่กาของญี่ปุ่น ก่อนจะไปถึงทางเข้างานตลอดทางมีต้นฮิกังบะนะตลอดทาง ตื่นเต้นกันตั้งแต่ทางเดินไปเรื่อยๆ
ค่าเข้าบริการที่นี่ใช้บัตรเติมเงิน SUICA ได้ด้วย สะดวกมากขึ้น
เข้าไปถึงสวนแล้วก็เดินกันเป็นวงกลมเลย สวยมากๆโดยเฉพาะด้านขวามือที่มีลำธารไหลผ่าน อากาศช่วงนี้ก็เย็นกำลังดี หลายๆคนปิกนิกกันที่ริมลำธารเลยหละค่ะ
ฮิกังบะนะ ไม่ได้มีแต่สีแดงเท่านั้นค่ะ ยังมีสีขาวและสึขาวอมชมพูด้วย ซึ่งที่นี่มีจำนวนน้อยต้องหากันเป็น rare item เลยทีเดียว
บรรยากาศทั้งสวน มีแต่สีแดงเต็มไปหมดเลยค่ะ มีทั้งหมดประมาณห้าล้านต้น!
ฮิกังบะนะในอีกเรื่องเล่าหนึ่งจาก wikipedia คือ
Higanbana (Red spider lily) เป็นดอกไม้สีแดงสด เติบโตได้ดีในเขตอบอุ่น ดอกจะบานช่วงย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง หรือ equinoctial week ซึ่งเป็นช่วงที่กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน และจะมีการประกอบพิธีทางพุทธ(ในญี่ปุ่นและจีน) โดยการนำดอกไม้ไปปลูกบริเวณหลุมศพเป็นการเคารพผู้ตาย และด้วยเหตุดังกล่าว ดอกไม้นี้จึงเป็นของต้องห้ามในการจัดดอกไม้ไม่ว่ากรณีใด
ตำนานของ Higanbana เล่ากันมาว่าดอกไม้นี้จะเติบโตในนรกภูมิ (นึกถึงเพลง Naraku no Hana ของฮิกุไค) เพื่อนำทางวิญญาณไปสู่การเกิดใหม่
เนื่องจาก Red spider lily จะมีการผลัดใบผลัดดอก เมื่อดอกบาน ใบจะร่วงหมด เมื่อเริ่มแตกใบ ดอกจะโรย จึงมีการผูกไปถึงตำนานเทพของญี่ปุ่น โดยสื่อการการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และไม่มีวันหวนกลับมากอีก
ตำนานที่เป็นที่นิยมที่สุด เล่าถึง 曼珠(Manshu) ผู้อารักษ์ดอก กับ 沙華(Saka) ผู้อารักษ์ใบ เทพารักษ์สององค์ได้ฝืนชะตา ขออารักษ์ไม้ชนิดนี้ร่วมกัน (ตามตำนาน ไม้ 1 ชนิดจะมีเทพารักษ์ได้เพียงหนึ่งเท่านั้น) และต่างก็ตกหลุมรักเมื่อแรกพบทั้งคู่
เรื่องถึงเทพีอามะเทราสึ พระองค์จึงแยกคู่รักออกจากกันและฝังคำสาปไว้ ไม่ให้ทั้งสองได้พบกันอีก
ตำนานบางแห่งมีการเติมต่อไปว่า แม้ทั้งสองจะได้พบกันในนรกภูมิ และสาบานว่าจะพบกันอีกหลังเกิดใหม่ ก็ไม่สามารถได้พบกันอีกเลย
ดังนั้น ในจีนและญี่ปุ่นจึงมีการใช้อีกชื่อหนึ่งของ Red spider lily ว่า 曼珠沙華 (อ่านเป็น Manjushage)
อีกความเชื่อหนึ่งก็ว่า ดอกไม้นี้จะบาน ณ ริมแม่น้ำซังสึ (三途の川) ซึ่งพ้องกับแม่น้ำสติกซ์ (Styx River) ในตำนานตะวันตก ซึ่งเป็นแม่น้ำที่กั้นระหว่างโลกคนเป็นกับปรภพ
และเนื่องจาก 彼岸 เป็นชื่อเรียกของริมฝั่งด้านปรภพของแม่น้ำซังสึ(อาจจะผิดพลาดนะครับ แก้ไขได้) จึงมีการใช้ชื่อ 彼岸花 เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน
Pingback: แนะนำ “คาเฟ่นกฮูกที่โตเกียว” : Ikefukurou cafe’ | redlovetree
Pingback: เทศกาลดอกไม้สีแดง “ฮิกังบะนะ”|คำแนะนำสไตล์การท่องเที่ยวญี่ปุ่น 100 แบบ