TIPS & HOW TO

[18+] หนังสือภาพพิมพ์แนวหวือหวาร่วมเพศในยุคสมัยเอโดะ

อยู่ๆ รลท.จะเปลี่ยนแนวการเขียนเป็นแนวเรท X เรท R ก็คงจะไม่ใช่ แต่พาดหัว BLOG เป็นแบบนั้น ก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ครั้งนี้ รลท.มาแบบ 18+ อายุน้อยกว่านี้ก็อ่านได้ เพื่อการศึกษาเราอิงประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ไม่ใช่การส่งเสริมให้ไปอ่านหนังสือลามกอนาจารแต่อย่างใด …

อยู่ๆลุกขึ้นมาเขียนเรื่องนี้ได้อย่างไร …….

วันก่อนเราไปที่ Oedo Onsen Monogatari เป็นออนเซนที่อยู่ในโตเกียว (เอาไว้จะลง blog เป็นอีกตอนให้อ่านกัน เผื่อใครมาเที่ยวโตเกียวแล้วอยากลงแช่น้ำร้อนธรรมชาติ ที่นี่จะได้เป็นตัวเลือกนึงได้)
ขากลับจากออนเซน เราแวะร้านขายของฝากเห็นของฝากเป็นแก้วชา หวือหวาดี ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็เคยทวิตไปเพราะที่ฮาโกเน่และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆก็มีขาย เป็นแก้วแบบนี้

ลายที่ขึ้นอยู่บนแก้วเป็นภาพพิมพ์อุคิโยะเอะ หรือ ภาพที่ออกแนวโจ่งครึ่ม (ชุนกะ) หรือจะเรียกว่าเป็นการ์ตูนลามกแบบปัจจุบันก็ยังได้ ยังดีที่เห็นแค่ช่วงบน ~ 

หลังจากที่โพสภาพนี้ไปใน Fanpage ของ redlovetree นักเรียนคนนึงไปเจอเข้า วันรุ่งขึ้นก็มาถามเราว่า

  • เซนเซ รูปที่เมื่อวานโพสไปเซนเซรู้จักมั้ยเรียกว่าอะไร แล้วเคยเห็นของจริงรึเปล่า
  • ตอบไปว่า ความหมายและความเป็นมาลึกๆน่ะไม่รู้นะ แล้วก็ยังไม่เคยเห็นของจริงเลย เกือบสี่ร้อยกว่าปีแล้วคงต้องหาดูในพิพิธภัณฑ์มั้งคะ
  • ไม่ต้องครับ ผมเอาของจริงมาให้ดู เป็นของคุณปู่ผมเอง ท่านเก็บรักษาไว้ในกล่องอย่างดี

ในใจแอบตื่นเต้นว่าจะได้สัมผัสหนังสือในประวัติศาสตร์เล่มจริง ที่มีอายุหลักร้อยๆปี และเป็นที่นิยมในกลุ่มนักสะสมหนังสือและภาพพิมพ์เหล่านี้ บางคนก็ลงทุนซื้อเล่มหรือแค่ภาพๆเดียว หลักหมื่นหลักแสนเพื่อสะสมเลยทีเดียว

นี่เป็นหนังสือเล่มจริงที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ประมาณสี่ร้อยปี
นักเรียนอนุญาตให้ถ่ายรูปมาเฉพาะส่วนที่เปิดเผยได้ และ ใช้มุมกล้องบังบางส่วนเพื่อไม่ให้อนาจาร  

อาจจะดูว่า ไม่เห็นมีอะไรหวือหวาหรือน่าสนใจเลย แค่ภาพหนุ่มสาวญี่ปุ่น ส่วนที่ไม่สามารถถ่ายมาให้ดูได้ มันเป็นภาพที่ มือไม้สั่น เขินหน้าแดง เพราะเป็นภาพแนวนี้ >> อ้างอิงจาก วิกิพีเดียละกัน 春画 ที่นี่ก็เซนเซอร์นะ รูปมันสุดๆจริงๆ copy คำนี้ 春画 ไปค้นดูรูปภาพก็ได้
ของผู้ชายนี่เป็นของผู้ชายที่ขนาดใหญ่เว่อร์จนน่ากลัว
ผู้หญิงที่อยู่ในภาพก็แนวเซกซี่อ่อนช้อยยั่วยวนมาก
เนื้อหาของแต่ละเล่มก็แตกต่างกันออกไปด้วย
ดังนั้นภาพก็จะต่างกันไป แนวพิสดารก็มี อย่างที่หลายคนที่พอจะรู้จักก็เป็นเรื่องราวการร่วมเพศของผู้หญิงกับปลาหมึก

 

ทำให้เราอยากรู้วิธีการพิมพ์หนังสือเหล่านี้และก็ประวัติคร่าวๆ เราเลยนึกถึงเพื่อนคนนึงที่เป็นนักสะสมและชื่นชอบภาพศิลปะเหล่านี้ เพื่อขอข้อมูลมาประดับความรู้ ไหนๆก็ได้จับเล่มจริงแล้วจะแค่ได้จับแล้วก็ปล่อยให้เป็นหนังสือเก่าๆเล่มนึงไปก็น่าเสียดาย จึงเอามาให้เพื่อนดู Nut Kun Fanpage

แต่ด้วยที่ว่า เป็นเนื้อหาที่กำลังจะได้รับการพิมพ์เป็นหนังสือเร็วๆนี้ ทำให้นัทคุงต้องไปปรึกษาบก.เลยทีเดียวว่า จะให้ข้อมูลแคตจังได้รึไม่ 

…. ไม่พลาดแน่นอน แคตจังเอามาให้ทุกคนได้อ่านกันที่นี่ก่อนใคร ก่อนหนังสือจะวางอีกด้วย

ได้ความมาว่า …..

ภาพพิมพ์อุคิโยะเอะ (浮世絵) เป็นงานศิลปะที่ฮิตในยุคเอโดะ เพราะราคาถูก ผลิตซ้ำได้ ศิลปินใช้วิธีการวาดภาพต้นแบบ แล้วค่อยแยกสี จากนั้นก็แกะแผ่นไม้แยกตามสีต่างๆ แล้วค่อยใช้กระดาษกดลงบนแม่พิมพ์ตามสี เรียงลำดับ จนได้ภาพพิมพ์หลากสีสัน กลายเป็นงานศิลปะที่ทำในจำนวนมากและชาวบ้านทั่วไปสามารถครอบครองได้ ต่างไปจากภาพวาดเดิมๆ ที่เวลาสร้างผลงานชิ้นนึง ก็ต้องวาดขึ้นใหม่ ไม่สามารถผลิตงานชิ้นเดียวแบบจำนวนมากได้

ตอนแรกภาพพิมพ์อุคิโยะเอะเป็นภาพของสาวงาม นักแสดงคาบูกิ ซูโม่ หรือภาพวิวทั่วไป แต่พอเริ่มมีคนทำภาพชุนกะ (春画 – แปลว่าภาพแห่งฤดูใบไม้ผลิ …สงสัยจะพยายามเสนอว่าเซ็กซ์เป็นเรื่องสดชื่นเหมือนฤดูใบไม้ผลิ) หรือภาพของการร่วมเพศที่โจ๋งครึ่มขึ้น ก็มีคนสนใจไปซื้อภาพพิมพ์อุคิโยะเอะกันมากขึ้น

ซึ่งต้องบอกก่อนว่าไม่ได้มีแค่ภาพของชายกับหญิงปกตินะครับ พี่ท่านเล่นมีหญิงกับหญิง ชายกับชายด้วย! (เรื่องรักร่วมเพศในญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะในอดีต เหล่าขุนศึกดังๆ ก็ต่างมีคู่ขาเป็นผู้ชาย ความรักระหว่างลูกผู้ชายถูกมองเป็นเรื่องสูงส่ง เสียสละตายแทนกันได้ เขาไม่ได้มองเป็นเรื่องรักร่วมเพศอะไร แต่เป็นรูปแบบการแสดงความรักแบบหนึ่ง รักแบบสหายร่วมรบอย่างบริสุทธ์ใจ ถ้าเป็นยุคนี้คงเป็นแบบ Bromance ที่ถูกเอาไปจิ้นวายกันทั้งบ้านทั้งเมืองนั่นล่ะครับ) แต่พอเข้ายุคปฏิรูปเมจิ แนวคิดนี้ก็ค่อยๆ หายไปพร้อมกับการปรับเข้าสู่สังคมสมัยใหม่)

ความรู้ที่เอามาฝากกันใน Blog ตอนนี้แน่นเลยทีเดียว ~ ทีนี้เวลาเราไปเจอภาพแบบนี้ก็อย่าได้ไป วี๊ดว้าย ลามก รับไม่ได้หละ เพราะมันคือ ศิลปะอย่างนึงและวิธีการพิมพ์ภาพเหล่านี้ก็เป็นประวัติศาสตร์การพิมพ์ พัฒนารูปแบบมาเรื่อยๆจนถึงยุคการพิมพ์หนังสือในปัจจุบัน และยังมีอิทธิพลต่องานศิลปะอิมเพรชชั่นนิสต์ยุโรป ระดับแวนโก๊ะ โมเนต์ เลยเชียว …. นัทคุงเล่าให้เราฟังแบบนี้

1 Comment

1 Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

To Top