หลายคนคงคิดและก็อาจจะสงสัยว่าญี่ปุ่นมีน้ำท่วมมั้ย จากข่าวล่าสุดของเดือนกรกฎาคม 2555
ทางภาคใต้ (คิวชู) ของญี่ปุ่นก็เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วม ดินถล่มและยุบตัวไปหลายพื้นที่ ทั้งๆที่ไม่ได้เกิดจากพายุแต่เป็นฝนที่ตกหนักมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ (เมื่อเทียบกับช่วงนี้ของปีก่อนๆ)
แม้แต่โตเกียวเอง ก็มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง
สาเหตุหลักของการเกิดน้ำท่วมแน่นอนว่าส่วนหนึ่งคือ พายุ
ทราบไหมว่า ปีนึงๆพายุพัดเข้าประเทศญี่ปุ่นกี่ลูก
เฉลี่ยปีละ 26ลูก (ค่าเฉลี่ยนะคะ มีมากกว่า น้อยกว่าไม่เท่ากันทุกปี)
ดูภาพ CG ความเปลี่ยนไปของโลกเรากับภาวะโลกร้อน สีของชั้นบรรยากาศเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด
โตเกียวก็มีโอกาสเกิดน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งปกติเมื่อเกิดฝนตกหนักมากๆหลายพื้นที่ก็เกิดน้ำท่วมขัง เพราะเป็นพื้นที่ต่ำ
การเลือกที่อยู่ในญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าดูจากชื่อเขตก็สามารถรู้ได้ว่ามีโอกาสเกิดน้ำท่วมมากน้อยแค่ไหน
สามารถสังเกตจากสามหลักต่อไปนี้
1.ชื่อเขต
2.คลองที่ถูกทำขึ้นจากซีเมนต์
3.พื้นที่สูงต่ำ อันนี้สามารเช็คได้ที่ญี่ปุ่นจะมีแสดงแผนที่ไว้ให้แต่ละเขต
แบบที่หนึ่ง ดูจากชื่อเขต เช่น
เขตชื่อ ทะเมะอิเคะ แปลว่า สถานที่สะสมรวบรวมน้ำเป็นบ่อน้ำ
เมื่อดูจากแผนที่เมืองแล้ว พบว่าเป็นพื้นที่ต่ำและเคยเป็น คลองมาก่อน
แบบที่สอง คลองที่ถูกทำขึ้นจากซีเมนต์ ซึ่งในโตเกียวจะมีคลองขุดแบบนี้เยอะมากๆ เช่นชิบุย่า เมกุโระ ทำให้น้ำถูกกั้นไม่สามารถไหลไปที่อื่น เกิดการเอ่อล้น และท่วมเมืองในที่สุด
แบบที่สาม พื้นที่สูงต่ำ เช็คได้จากแผนที่เมืองที่กระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค การขนส่งและท่องเที่ยว (Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism) 国土交通省
เช่น ที่เขตคิตะ หรือ สถานีอะคะบะเนะ วันนึงจะมีคนใช้บริการสถานีนี้ถึง หกแสนคนเลยทีเดียว
แต่ก็เกิดน้ำท่วมทุกครั้งเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ สถานีชิบุย่า สถานีโอกิคุโบะด้วยเช่นกัน
ภาพการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในโตเกียวตั้งแต่อดีต สาเหตุจากการเกิดพายุ
ปี 1947
ปี 1949
กาาคาดการณ์น้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในโตเกียวนั้น น้ำจะสูงถึง 5เมตร
ภาพ CG เมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ในโตเกียว
คลิป (ถ่ายมาจากทีวีอีกทีจ้า)
ภาพที่โตเกียวจะถูกจมด้วยน้ำ (พื้นที่สีฟ้า คือพื้นที่ต่ำกว่าน้ำทะเล 0เมตร)
กินซ่า
ชิมบะชิ
โตเกียว (มารุโนะอุจิ)
พื้นที่ที่ต่ำกว่าแม่น้ำ และเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่แบ่งตามเขตตามนี้
ตอนหน้าเราจะมาดูวิธีการช่วยเหลือตัวเองเมื่อเจอน้ำท่วมในสถานการณ์ต่างๆ เช่นเมื่ออยู่ในรถ ในบ้านและต้องเปิดประตูที่ถูกน้ำดัน รวมถึงคำแนะนำเมื่อต้องเดินออกจากบ้านควรจะเตรียมอะไรไป