TIPS & HOW TO

【首都直下地震】คาดการณ์แผ่นดินไหวที่โตเกียวระดับ 7ชินโดะ

ก่อนหน้านี้มีรายงานวิจัยและการจำลองสถานการณ์มาก่อนหน้านี้ แต่ว่าไม่ได้เอาลงสักที
ครั้งนี้มีการอัพเดทข้อมูลใหม่ จึงเลือกเอาข้อมูลที่อัพเดทแล้วมาลงให้อ่านกันดีกว่า

ผลงานวิจัยอันล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโตเกียวที่ระบุว่า “โตเกียวมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวระดับสูงสุด 7ชินโดะ”

PhotobucketPhotobucket

เรามาทบทวนคำว่า “ชินโดะ” กันก่อนค่ะ

ในประเทศญี่ปุ่นการรายงานความแรง การสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวนั้น จะใช้มาตราวัดที่ต่างจากที่อื่น
เบื้องต้นจะรายงานเป็น “ชินโดะ” และหลังจากนั้น จะปรับระดับเป็น “แมกนิจูด”

ซึ่ง “ชินโดะ” ก็แบ่งออกเป็นทั้งหมด 10 ระดับแต่ใช้ตัวเลขแสดงตามระดับจาก 0~7 เท่านั้น
เรียงลำดับตามความแรงได้ดังนี้
ระดับชินโดะ 0
ระดับชินโดะ 1
ระดับชินโดะ 2
ระดับชินโดะ 3
ระดับชินโดะ 4
ระดับชินโดะ 5-
ระดับชินโดะ 5+
ระดับชินโดะ 6-
ระดับชินโดะ 6+
ระดับชินโดะ 7
ความรุณแรงแต่ละระดับ สามารถดูได้จากภาพด้านล่างค่ะ

Photobucket

รูปภาพจาก Japan Meteorological Agency (JMA)

เมื่อวันที่ 11 เดือนมีนาคม 2554 (2011) นั้นโตเกียวได้รับแรงสั่นสะเทือนที่ระดับชินโดะ 5+

Photobucket

การคาดการณ์เขตที่จะได้รับผลกระทบนั้นแสดงจากรูปภาพด้านล่างตามระดับความรุณแรงในแต่ละสี
ระดับแรงสุดคือ 7ชินโดะ-สีแดง

Photobucket

นี่คือการคาดการณ์ไว้ว่า ศูนย์กลางเกิดแผ่นดินไหวเกิดที่ Tokyo Bay หรือ อ่าวโตเกียวขึ้นไปทางเหนือ
เขตที่ได้รับผลกระทบรุณแรงคือ Koutou-ku,Edokawa-ku,Ota-ku และ Kawasaki-shi

Photobucket

จากเหตุการณ์วันที่ 11 มีนาคม 2554 (2011) เฉพาะโตเกียวนั้นได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง
สรุปมาให้อ่านกัน
-ยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 7ราย
-ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 117ราย
-มีน้ำจากได้พื้นดินผุดขึ้นมาบนถนน
-การจราจรเป็นอัมพาต
-นอกเหนือจากนี้ ที่เราได้ประสบเองก็ยังมี เรื่องอาหารและน้ำ การดับไฟและการประหยัดไฟในช่วงแรกๆ

PhotobucketPhotobucketPhotobucketPhotobucket

ทีนี้ถ้าโตเกียว ต้องเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่อีกครั้ง และ รุณแรงกว่าเดิม
โตเกียวจะต้องเจอกับอะไรบ้าง ด้านล่างจะเป็นเหตุการณ์จำลองและสถิติที่คาดการณ์จำนวนคนและบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบและความเสียหาย

Photobucket

รายงานฉบับนี้ได้ออกสู่สายตาประชาชนทั่วไป เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ 2012(2555)

PhotobucketPhotobucket

จะมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนทั้งหมด 9,641ราย
Photobucket

จำนวนคนที่ต้องอพยพ ย้ายที่พัก ทั้งหมด 3,385,489ราย

Photobucket

จำนวนคนที่ได้รับผลกระทบจากการเดินทางและอื่นๆ ไม่สามาถกลับบ้านได้ จำนวน 5,170,000ราย
Photobucket

แน่นอนว่า มีการระบุเวลาช่วงที่จะทำให้เกิดความเสียหายและได้รับผลกระทบมากที่สุดเมื่อเกิดแผ่นดินไหว คือเวลาเย็น 18:00 ของฤดูหนาว
(ไม่ได้ระบุแน่นอนนะคะ เป็นการคาดการณ์เท่านั้น ไม่ใช่การพยากรณ์ว่าจะต้องเกิดเวลานี้)
*อันนี้จากงานิจัยอื่นก็เคยบอกว่า เวลาที่จะทำให้เกิดความเสียหายจากแผ่นดินไหวได้มากสุดจะเป็นเวลาเช้า 05:00~07:00 เช่นกัน
ตรงนี้สังเกตได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่คนกำลังเดินทางออกจากบ้านไปทำงาน
ดังนั้นผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น ส่วนมากอาจจะติดอยู่ในรถไฟหรือบนท้องถนน และบางบ้านยังเป็นช่วงเวลาทำอาหาร อาจเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ได้จากไฟหุงต้มทำอาหารหรือแก๊ซรั่ว

PhotobucketPhotobucket

การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่นักวิจัยได้กล่าวไว้คือการเกิดแรงสั่นสะเทือนจากใต้พื้นดิน(รูปแรก) ไม่ใช่เกิดจากแผ่นเปลือกโลกเบียดกันแล้วเกิดที่ชายฝั่ง(รูปที่สอง)
*ตรงนี้ต้องขอการชี้แนะและอธิบายเพิ่มเติมจากผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวในรูปแบบต่างๆ*

PhotobucketPhotobucket

แผ่นดินแยกตัวเป็นแบบนี้ค่ะ รูปจากเอกสารเก่าที่เคยเกิดขึ้นจริง

Photobucket

ถามว่าทำไมนักวิจัยถึงคาดการณ์ว่าจะเกิด และอาจจะเกิดเมื่อไหร่ก็ได้โดยที่ไม่ใช่เรื่องแปลก
เพราะจากสถิติเดิมที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คำนวนระยะเวลาการเกิดได้แบบนี้

สีแดงคือ การเกิดแผ่นดินไหวแบบแผ่นเปลือกโลกเบียดกันแล้วเกิดแรงสั่นสะเทือนที่ชายฝั่ง
สีดำคือการเกิดการสั่นสะเทือนจากภายใต้พื้นดิน
*เช่นกันอันนี้ต้องรอผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวในรูปแบบต่างๆมาช่วยอธิบาย หรือแก้ไขคำพูดให้ถูกต้องและเป็นทางการกว่านี้*

Photobucket

ดูภาพรวมกว้างๆของโตเกียวในเขตที่จะได้รับความเสียหายเป็นตึก อาคาร บ้านเรือน
ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือสีแดง จำนวน 100~400 หลังคาเรือน
ความเสียหายที่เกิดไม่ใช่แค่บ้านเรือนตึกอาคารล้มพังลงมาเท่านั้น แต่ยังรวมสาเหตุที่เกิดไฟไหม้อาคารบ้านเรือนด้วย
Photobucket

ตอนนี้ในแต่ละเขตก็มีการฝึกอบรมคนที่อาศัยอยู่ในเขตนั้นๆให้ช่วยเหลือตนเองได้ในเบื้องต้น
ในกรณีที่เกิดไฟไหม้รถดับเพลิงมาถึงช้าหรือไม่สามารถเข้าถึงที่เกิดเหตุได้

PhotobucketPhotobucket

การคาดการณ์จำนวนอาคารบ้านเรือนที่จะได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้
สีแดง-ได้รับความเสียหายมากสุด 100 หลังคาเรือนหรือมากกว่า

PhotobucketPhotobucket

อันต่อไปเป็นเรื่องของเหลวที่ไหลลงสู่ทะเล หรือ เกิดผุดขึ้นมาบนพื้น ถนน และเลวร้ายสุดคือเกิดการระเบิด
ตามที่เราเคยเห็นเมื่อครั้งที่เกิดวันที่ 11 มีนาคม 2554(2011) ที่มีของเหลวผุดขึ้นมาบนถนน
จำลองสถานการณ์เป็นน้ำมัน อาจจะเป็นแบบนี้ในกรณีเลวร้ายสุด

PhotobucketPhotobucketPhotobucket

มันเกิดจากผนังกั้นถูกทำลายเพราะแผ่นดินเคลื่อนไหวไปมาทำให้น้ำกัดเซาะเข้ามา ดูตามรูปน่าจะเข้าใจง่าย

PhotobucketPhotobucketPhotobucket

ถ้าด้านบนเป็นที่วางที่เก็บน้ำมันหรือของเหลว วัตถุไวไฟ อาจจะเกิดได้สองแบบคือ
หนึ่ง ฐานของถัง/แท็งค์เก็บของเหลว พังทำให้กลิ้งลงสู่ทะเล

PhotobucketPhotobucket

สอง แผ่นดินไหวเคลื่อนไปมา ทำให้ของเหลวภายในที่เก็บนั้นรั่วออกมาแล้วไหลลงสู่พื้นหรือทะเล

PhotobucketPhotobucket

กรณีที่เลวร้ายสุด อย่างที่บอกไปคือ การเกิดระเบิดขึ้นเพราะเป็นวัตถุไวไฟ

PhotobucketPhotobucketPhotobucket

การเกิดแผ่นดินไหว ไม่ได้ทำให้เกิดผลโดยตรงเพียงแค่ที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น
ณ ตอนนี้ผลการวิจัย พื้นดิน/แผ่นดินของประเทศญี่ปุ่น หลังจากการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งนั้น (เดือนมีนาคม)
มีผลทำให้แผ่นดินเคลื่อนย้ายจากจุดเดิม หรือ เคลื่อนตัวออกไปไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิม
และถ้าเกิดขึ้นอีก อาจจะมีการเคลื่อนตัวของแผ่นดินได้มากสุด 7เมตร

Photobucket

พื้นถนนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่เมื่อเดือนมีนาคม ทำให้เห็นได้ว่าพื้นดิน/แผ่นดินมีความสูงต่ำเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด

Photobucket

คลิปจำลองเหตุการณ์ เป็น SimulationCG

เป็นการสรุปย่อมาแล้วจากงานวิจัย
ซึ่งต้องอัพเดทข้อมูลใหม่ตลอดเวลานะคะ สำหรับคนที่อยู่ที่ญี่ปุ่นควรเตรียมพร้อมเสมอ
เพราะการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ “จะเกิดเมื่อไหร่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา”

*เนื้อหาของ blog ตอนนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์จะทำให้เกิดการหวาดกลัว วิตกกังวลแต่เป็นการให้ข้อมูลที่ควรรู้และนำไปหาข้อมูลเพิ่มเติมจากนี้ และเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น

ขอให้มีสติทุกคนค่ะ

1 Comment

1 Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

To Top